ชื่อเรื่อง หรือชื่อบทความควรตั้งให้น่าสนใจเพราะจะช่วยทำให้ผู้อ่านอยากคลิกเข้าไปอ่าน ควรมีคีย์เวิร์คแทรกอย่างน้อย 1 คีย์
คำนำ หรืออารัมภบท คือการเกริ่นนำเป็นการบอกให้ผู้อ่านทราบคร่าวๆ ว่าบทความที่เราเขียนบทความนี้จะมาว่าถึงเรื่องอะไร ในส่วนของคำนำนี้ควรมีคีย์เวิร์คหลัก 1-2 คีย์ และคีย์เวิร์คที่เกี่ยวข้องอีก 1-2 คีย์ ครับ
เนื้อเรื่อง ก็คือการดำเนินเรื่องและรายละเอียดต่างๆ ที่เราต้องการสื่อกับผู้อ่าน ไม่ควรเขียนวกวนไปไปมา ควรเขียนให้อ่านเป็นธรรมชาติ การเชื่อมโยงในแต่ละวรรคตอนควรมีความต่อเนื่องกัน และควรมีคีย์เวิร์คหลัก 2-3 คีย์ และคีย์เวิร์คอื่นที่เกี่ยวข้องอีก 1-2 คีย์
บทสรุป หรือการลงท้าย ควรเขียนให้กระชับไม่ยืดเยื้อ และควรเขียนให้เกิดการอยากติดตามต่อ บทสรุปควรมีคีย์เวิร์คหลักและคีย์เวิร์คที่เกี่ยวข้องอีกอย่างละ 1 คีย์
สำหรับความยาวของบทความควรอยู่ในระดับ 350-650 คำ
เขียนบทความอย่างไรให้คนสนใจติดตามอ่าน เขียนในเรื่องที่คุณถนัดและมีความรู้ เรื่องที่เขียนต้องให้ประโยชน์กับผู้อ่าน สำนวนการเขียนก็แล้วแต่สไตล์ของแต่ละคนครับ บางคนอาจถนัดเขียนแนวเล่าเรื่อง หรือบางคนอาจถนัดแนววิชาการ สำหรับสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเขียนบทความก็คือภาษาที่ใช้ต้องถูกต้องตามอักขระวิธี คำศัพท์และตัวสะกดต้องถูกหลักภาษาไทย ใจความไม่วกไปวนมา อ่านเป็นธรรมชาติและสามารถทำให้ผู้อ่านๆ แล้วเกิดจินตนาการคล้อยตามได้ ที่สำคัญต้องให้สาระความรู้แก่ผู้อ่าน เราสามารถหาข้อมูลมาเขียนบทความได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่นตามเว็บไซต์ หนังสือ หรือฟังวิทยุ ดูทีวี แล้วนำข้อมูลที่ได้รับมารีไร๊ท์หรือจัดเรียงสำนวนใหม่แล้วถ่ายทอดเป็นงานเขียนของเราได้โดยต้องไม่ก็อปปี้หรือคัดลอกมาทั้งหมด
นอกจากบทความแล้วรูปภาพประกอบของบทความก็มีส่วนช่วยให้บทความมีความน่าสนใจรวมถึงผลทางด้าน SEO ด้วยครับ เราควรใส่คำอธิบายให้กับรูปภาพด้วยครับเพราะ Google จะได้ Index รูปภาพของเราด้วย ตัวอย่างการใส่คำอธิบายให้กับรูปภาพใน blogger
ให้คลิกที่รูปภาพแล้วเลือกคุณสมบัติ เสร็จแล้วให้ใส่รายละเอียดลงไป การใส่รายละเอียดในรูปภาพก็ช่วยให้บทความของเราติดอันดับ Google อีกหนึ่งช่องทางครับ
บทความที่สดใหม่ไม่ซ้ำใครย่อมทำให้ Google เห็นคุณค่าของบทความของเรา ดังนั้นโอกาสในการติดอันดับในหน้าแรกๆ ของกูเกิ้ลย่อมมีสูงครับ